มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ

มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ

          การติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะจำเป็นจะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงหลักวิชาการ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

2.1 มาตรฐานความส่องสว่าง
2.1.1 ถนนสายหลัก ถนนสายรอง ทางแยก วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร

ความต้องการแสงสว่างสำหรับไฟถนน

ประเภทถนน ความส่องสว่างเฉลี่ยวัดในแนวระดับต่ำสุด (lux)
1. ถนนสายหลัก      15  lux
2. ถนนสายรอง        10  lux
3. ทางแยก      22  lux
4. วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร 15  lux

2.1.2 สวนสาธารณะ ตลาด สนามเด็กเล่น ลานจอดรถสาธารณะ ลานกีฬาชุมชน สะพาน
สะพานลอยคนข้าม ทางเดินเท้า ทางม้าลาย ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ป้ายจอดรถประจำทาง
(ไม่มีศาลา)

ความต้องการแสงสว่างสำหรับพื้นที่สาธารณะ

ชนิดของพื้นที่ ความส่องสว่างเฉลี่ยวัดในแนวระดับต่ำสุด (lux)
สวนสาธารณะ    10  lux
ในตลาด (ในอาคาร)   100  lux
ลานตลาด (นอกอาคาร)    30  lux
สนามเด็กเล่น    50  lux
ลานจอดรถสาธารณะ 15  lux
ลานกีฬาชุมชน   50  lux
สะพาน  30  lux
สะพานลอยคนข้าม   15  lux
ทางเดินเท้า (ฟุตบาท)    7  lux
ทางม้าลาย    45  lux
ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง    30  lux
ป้ายจอดรถประจำทาง (ไม่มีศาลา)   7  lux
           หมายเหตุ : ในบริเวณใดที่มีความเสี่ยงต่ออาชญากรรม การลักขโมย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มมิจฉาชีพสูงควรเพิ่มความส่องสว่างให้มากขึ้นด้วย

2.2 รูปแบบการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะตามแนวถนน ทางแยก วงเวียนสามารถเลือกชนิดของโคมไฟ และดวงโคมที่จะใช้งานได้ตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับภูมิทัศน์ของพื้นที่นั้นๆ สำหรับการกำหนดรูปแบบในการติดตั้ง (รูปที่ 2-1) สามารถดำเนินการได้ดังนี้
2.2.1 ติดตั้งฝั่งเดียวกันของถนน เหมาะสำหรับถนนเล็กๆในซอย หรือทางเท้า (รูปที่ 2-2)
2.2.2 ติดตั้งสองฝั่งถนน สลับกัน เหมาะสำหรับถนนกว้างไม่เกิน 6 เมตร (รูปที่ 2-3)
2.2.3 ติดตั้งสองฝั่งถนน ตรงข้ามกัน เหมาะสำหรับถนนกว้าง 8 เมตร ขึ้นไป (รูปที่ 2-4)
2.2.4 ติดตั้งกลางถนนโดยแยกโคมไฟฟ้าเป็นสองทางในเสาต้นเดียวกัน เหมาะสำหรับถนนกว้าง 8 เมตร ขึ้นไป และมีเกาะกลางถนน (รูปที่ 2-5)
2.2.5 การติดตั้งโคมไฟที่ทางสี่แยก (Cross-Road) (รูปที่ 2-6) ซึ่งจะมีระบบติดตั้งถี่กว่าการติดตั้งตามแนวถนนปกติ
2.2.6 การติดตั้งโคมไฟที่ทางสามแยก (T-Junction) (รูปที่ 2-7) ซึ่งจะมีระบบติดตั้งถี่กว่าการติดตั้งตามแนวถนนปกติ
2.2.7 การติดตั้งโคมไฟที่ทางในวงเวียน (Round About) (รูปที่ 2-8)










2.3 ระยะห่างระหว่างจุดติดตั้งดวงโคมกับขอบถนนที่สัมพันธ์กับความเร็วของยานพาหนะในการกำหนดจุดติดตั้งโคมไฟฟ้าจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการติดตั้งหน้าอาคารซึ่งกีดขวางทางสัญจร หน้าสถานที่สำคัญ และสถานที่ที่น่าสนใจ เช่น อนุสาวรีย์ โบสถ์ และอาคารที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม เพราะจะทำลายทัศนียภาพ และความสวยงามนอกจากนี้เสาดวงโคมที่ติดตั้งริมถนน จะเป็น    สิ่งกีดขวางที่อาจจะเกิดอันตรายจากการเฉี่ยวชนของยานพาหนะที่สัญจรไปมาได้ ดังนั้นเพื่อลดอุบัติเหตุและความรุนแรงของการเฉี่ยวชน จึงควรจะติดตั้งเสาดวงโคมให้ห่างขอบถนน(ผิวการจราจร) ให้มาก ทั้งนี้ระยะห่างจากขอบถนนถึงจุดติดตั้งเสาดวงโคมยิ่งมาก จะลดความรุนแรงเนื่องจากการเฉี่ยวชนได้มากเช่นกัน อย่างไรก็ตามการกำหนดระยะห่างจากขอบถนนเพื่อติดตั้งโคมไฟจะต้องให้สอดคล้องกับการกำหนดความเร็วของยานพาหนะที่สัญจรในถนนสายนั้นด้วย 

ความปลอดภัยระหว่างจุดติดตั้งดวงโคมกับขอบถนนที่สัมพันธ์กับความเร็วของยานพาหนะ

ความเร็วของยานพาหนะ            50    ก.ม./ชั่วโมง          ระยะห่างจากขอบถนน        0.8   เมตร
ความเร็วของยานพาหนะ            80    ก.ม./ชั่วโมง          ระยะห่างจากขอบถนน        1-1.5  เมตร
ความเร็วของยานพาหนะ           100    ก.ม./ชั่วโมง         ระยะห่างจากขอบถนน        อย่างน้อย 1.5  เมตร
ความเร็วของยานพาหนะ           120    ก.ม./ชั่วโมง         ระยะห่างจากขอบถนน        อย่างน้อย 1.5  เมตร

หมายเหตุ 
1. ความเร็วของยานพาหนะ เป็นความเร็วตามกฎหมายกำหนด
2. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามตารางที่ 2-3 ได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่ระยะห่างจากขอบถนนเพียงพอ ให้สามารถติดตั้งเสาดวงโคมได้ ในระยะไม่ต่ำกว่า 0.65 เมตร พร้อมมีที่กำบังเสาดวงโคม (Barrier) ความสูง 0.9 – 1.30 เมตร พร้อมทั้งแผ่นสะท้อนแสงสีเหลืองสลับดำติดกับที่กำบังนั้นด้วย

2.4 ระยะห่างของจุดติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ
     หมายถึง ระยะห่างระหว่างจุดติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งหากเป็นการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะตามแนวถนนก็จะติดตั้งดวงโคมที่เสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ตามแนวถนนนั้นระยะห่างระหว่างเสาของการไฟฟ้าฯ จะกำหนดไว้ประมาณ 20 เมตร 40 เมตร และ 80 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของสายไฟฟ้าที่พาดบนเสาไฟฟ้า ดังนั้นการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะตามแนวถนนจึงจะใช้ระยะห่างระหว่าง
เสาดังกล่าว แต่บางแห่งเสาไฟฟ้าปักไว้ในเขตทางที่อยู่ห่างถนนมาก (เขตทาง 30-40 เมตร) หากติดตั้งที่เสาไฟฟ้าจะไม่สามารถให้แสงสว่างได้ตามต้องการ จำเป็นที่จะต้องใช้โคมไฟพร้อมเสาควงโคมหรือเสาคอนกรีตเพื่อติดตั้งตามไหล่ทางหรือทางเท้า ซึ่งสามารถกำหนดระยะห่างได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องจัดให้มีระดับแสงสว่างเป็นไปตามมาตรฐานความส่องสว่าง ข้อ 2.1



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น