การบำรุงรักษาทาง (Road Maintenance)

ถนนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นถนนลูกรัง ลาดยาง หรือคอนกรีต เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ความชำรุดเสียหายจะเกิดตามมา ความชำรุดเสียหายเหล่านี้นอกจากจะเกิดขึ้นเนื่องจากการเสื่อมสภาพตาม ธรรมชาติแล้วยังเกิดขึ้นเนื่องจากการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดของยวดยานและจาก ภัยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องรีบดำเนินการซ่อมทันทีเมื่อตรวจพบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ความเสียหายลุกลามแผ่วงกว้างออกไป ทำให้รัฐต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการซ่อมบำรุงให้อยู่ในสภาพดี อันเป็นการสูญเปล่าเงินงบประมาณโดยไม่จำเป็น การบำรุงรักษาทางให้อยู่ในสภาพดีเป็นประจำตลอดเวลา นอกจากจะเป็นการประหยัดเงินงบประมาณแผ่นดินแล้วยังทำให้ผู้ใช้ถนนได้รับความ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการคมนาคมขนส่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การขนส่งและอื่นๆ ลดลงด้วย เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับประชาชนอีกทางหนึ่ง
  • 1.1 เพอรักษาทางให้คงรูปและมีสภาพดี
  • 1.2 เพื่อให้ผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
  • 1.3 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และขนส่ง
  • 1.4 เพื่อประหยัดงบประมาณในการบำรุง
  • 2.1 ปริมาณการจราจร
  • 2.2 น้ำหนักของยวดยาน
  • 2.3 สภาพดินฟ้าอากาศ
การควบคุมการก่อสร้างก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถนนชำรุดเสียหายเร็วหรือช้า ซึ่งผู้ควบคุมงานจะต้องมีความรู้และความชำนาญในการควบคุมงานให้เป็นไปตาม มาตรฐานการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง และอื่น ยกตัวอย่างเช่น รู้จักเลือกประเภทและปริมาณของยางแอสฟัลท์ที่ใช้ในแต่ละลักษณะงานให้ถูกต้อง ตามที่กำหนดในรูปแบบและรายการ รู้จักกรรมวิธีในการบดอัด
กรมทางหลวงชนบทได้แบ่งกิจกรรมงานบำรุงรักษาทางออกเป็นกิจกรรมต่างๆ คือ งานบำรุงปกติ งานบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา งานบำรุงพิเศษ และงานบำรุงฉุกเฉิน
  • 3.1 งานบำรุงปกติ ( Routine Maintenance )
    หมายถึง การบำรุงรักษาทางอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ทางอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ทำให้ผู้ใช้ถนนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการขับขี่และเพื่อป้องกันมิให้ความเสียหายลุกลามแผ่กว้างออกไป เช่น งานกวาดเกลี่ยหรือขึ้นรูปบดทับใหม่สำหรับผิวทางลูกรัง งานอุดรอยแตก (Sealing) งานฉาบผิว (Seal Coat) งานปะซ่อมผิวทาง (Skin Patch) งานขุดซ่อมผิวทาง (Deep Patch) ของผิวลาดยาง และงานอุดรอยต่อของผิวคอนกรึต เป็นต้น
  • 3.2 งานบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา ( Periodic Maintenance )
    หมายถึง การบำรุงรักษาทางอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ทางอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ทำให้ผู้ใช้ถนนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการขับขี่และเพื่อป้องกันมิให้ความเสียหายลุกลามแผ่กว้างออกไป เช่น งานกวาดเกลี่ยหรือขึ้นรูปบดทับใหม่สำหรับผิวทางลูกรัง งานอุดรอยแตก (Sealing) งานฉาบผิว (Seal Coat) งานปะซ่อมผิวทาง (Skin Patch) งานขุดซ่อมผิวทาง (Deep Patch) ของผิวลาดยาง และงานอุดรอยต่อของผิวคอนกรึต เป็นต้น
  • 3.3 งานบำรุงพิเศษ ( Special Maintenance )
    หมายถึง การบำรุงรักษาทางอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ทางอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ทำให้ผู้ใช้ถนนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการขับขี่และเพื่อป้องกันมิให้ความเสียหายลุกลามแผ่กว้างออกไป เช่น งานกวาดเกลี่ยหรือขึ้นรูปบดทับใหม่สำหรับผิวทางลูกรัง งานอุดรอยแตก (Sealing) งานฉาบผิว (Seal Coat) งานปะซ่อมผิวทาง (Skin Patch) งานขุดซ่อมผิวทาง (Deep Patch) ของผิวลาดยาง และงานอุดรอยต่อของผิวคอนกรึต เป็นต้น
  • 3.4 งานซ่อมฉุกเฉิน ( Emergency Maintenance )
    หมายถึง การบำรุงรักษาทางอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ทางอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ทำให้ผู้ใช้ถนนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการขับขี่และเพื่อป้องกันมิให้ความเสียหายลุกลามแผ่กว้างออกไป เช่น งานกวาดเกลี่ยหรือขึ้นรูปบดทับใหม่สำหรับผิวทางลูกรัง งานอุดรอยแตก (Sealing) งานฉาบผิว (Seal Coat) งานปะซ่อมผิวทาง (Skin Patch) งานขุดซ่อมผิวทาง (Deep Patch) ของผิวลาดยาง และงานอุดรอยต่อของผิวคอนกรึต เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น